หากคุณเพิ่งถอยรถหรือถอยออกมาไม่กี่ปีมานี้ ก็น่าจะมีโอกาสได้ใช้ระบบหน้าจอสัมผัสในรถบางรุ่น รวมไปถึงระบบนำทาง และเทคโนโลยีที่ต่อยอดจากสมาร์ทโฟนสู่โลกยานยนต์ ลองจินตนาการดูว่ารถคันถัดไปของคุณหรือที่ผลิตออกมาหลังจากนี้จะสามารถทำการอัปเดตซอฟต์แวร์จากระบบคลาวด์ และยังสามารถสื่อสารกับยานพาหนะอื่นๆ หรือแม้แต่โครงสร้างพื้นฐาน (อาคาร และสิ่งปลูกสร้าง) เพื่อที่ตัวรถนั้นจะสามารถเห็นภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นรอบๆตัวมันเอง
และนั่นคือสิ่งที่เทคโนโลยีการสื่อสารจากยานพาหนะสู่ทุกสิ่ง (vehicle-to-everything หรือ V2X ) ที่ต่อยอดมาจากบทความก่อนหน้าของเราที่พูดถึงแค่การสือสารระหว่างรถยนต์กับรถยนต์ครับ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ก็ยังไม่ได้พัฒนาออกมาอย่างเต็มที่เท่าไรนัก แต่เราจะพาไปรู้จักแนวคิดและสิ่งที่มันสามารถทำได้ในเบื้องต้นกันครับ
V2X คืออะไร?
V2X หากกล่าวโดยรวมคือการที่ยานพาหนะสามารถหรืออาจจะสามารถใช้เครื่องมือสื่อสารบนรถเพื่อส่งข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์เพื่อตอบสนองต่อสภาพถนนที่เปลี่ยนแปลงไปล่วงหน้ารวมไปถึงจดจำป้ายจราจรและคำเตือนต่างๆ ฯลฯ แต่ถึงแม้ว่าด้วยตัวฟังก์ชัน V2X เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถจัดการยานพาหนะเองทั้งหมดได้หากไม่มีคนขับอยู่บนรถ แต่ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญในในการก้าวสู่ระบบยานยนต์อัตโนมัติที่สามารถรวบรวมภาพสภาพแวดล้อมภายนอกเข้ามาแสดงหรือแจ้งเตือนภายในห้องโดยสาร และ V2X นี้เองได้ผนวกเอาเทคโนโลยี่ก่อนหน้าต่างๆเข้ามาไว้ด้วยกันได้แก่
V2V
Vehicle-to-vehicle หรือที่เรียกว่า V2V คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบไร้สายระหว่างยานพาหนะ ภายในขอบเขตที่กำหนด เทคโนโลยีนี้สามารถส่งข้อความจากยานพาหนะหนึ่งสู่ยานพาหนะที่อยู่รอบข้าง ซึ่งจะช่วยคำนวณความเสี่ยงของการชน และสามารถบอกให้ผู้ขับขี่ดำเนินการหลบหลีกก่อนจะเกิดเหตุขึ้น เป้าหมายสูงสุดของเทคโนโลยีนี้คือการสร้างฟองอากาศเสมือนครอบไว้รอบตัวรถเพื่อสร้างการรับรู้สำหรับตัวรถและทำให้มันสามารถป้องกันตัวเองและคนขับจากอุบัติเหตุต่างๆได้
V2I
Vehicle-to-Infrastructure (V2I) หรือ การสื่อสารระหว่างยานพาหนะสู่โครงสร้างพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ยานพาหนะสามารถแบ่งปันและรับข้อมูลกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่บนหรือใกล้ๆถนนได้ เช่น กล้องวงจรปิด สัญญาณไฟจราจร เส้นจราจร เป็นต้น เพื่อให้มีความปลอดภัยในการเดินทางมากยิ่งขึ้น โดยระบบจะช่วยเตือนโดยลิงค์ภาพจากกล้องวงจรปิดที่ติดอยู่ตามที่ต่างๆให้เห็นภาพอุบัติเหตุข้างหน้าหรือแจ้งให้ทราบถึงทางโค้งแบบหักศอกด้านหน้า ซึ่งระบบนี้จะช่วยลดอุบัติเหตุในช่วงหมอกลงจัดหรือฝนตกหนักได้อย่างมาก
V2P
ในบรรดานวัตกรรมการสื่อสารทั้งหมดนี้ ยานพาหนะสู่คนเดินเท้า (V2P) อาจซับซ้อนที่สุด แนวคิดในที่นี้คือยานพาหนะจะสามารถใช้ทั้งเครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยบนเครื่องบินและการสื่อสารในระดับหนึ่งกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคนเดินเท้าเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ ซึ่งอาจรวมถึงผู้คนที่เดิน ขี่จักรยาน หรือแม้แต่ผู้คนที่เข้าและออกจากรถขนส่งมวลชน ตัวอย่างเช่น หากรถมีปัญหาในการเบรคที่ทางแยก ระบบบนรถจะส่งการแจ้งเตือนไปยังคนเดินถนนที่อยู่ใกล้เคียงว่าอย่าเพิ่งข้ามถนน ความท้าทายอีกขั้นของ V2P คือผู้คนจะต้องเต็มใจที่จะอนุญาตให้โทรศัพท์มือถือของตนเปิดรับสัญญาณเตือนความปลอดภัย (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอยู่บ้าง)
V2N
Vehicle-to-network (V2N) คล้ายกับเทคโนโลยี V2X ในรูปแบบอื่นๆ แต่จะเชื่อมต่อรถเข้ากับสภาพแวดล้อมโดยรอบผ่าน Network ขนาดใหญ่ โดยการส่งข้อมูลจากตัวรถไปเก็บข้อมูลที่ศูนย์กลางข้อมูล จากนั้นก็นำไปประมวลผลแล้วส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับมาที่ตัวรถ ยกตัวอย่างเช่น เส้นทางที่กำลังไปมีการจราจรติดขัดด้วยสาเหตุต่างๆ ระบบก็จะแนะนำให้เปลี่ยนเส้นทาง ทำให้การเดินทางของเราสามารถไปสู่จุดหมายปลายทางได้ตรงตามเวลา หรือไม่คลาดเคลื่อนจนเกินไป
แต่พัฒนาระบบแบบนี้มาพร้อมกับอุปสรรคที่จะคอยขัดขวางให้การนำมาใช้จริงเกิดขึ้นได้ยาก โดยมีการวิเคราะห์กันออกมาว่า ข้อจำกัดใหญ่นั้นมีทั้งเรื่องของความเป็นส่วนตัว ดังที่กล่าวไปว่าระบบ V2P นั้นอาจจะต้องการการยินยอมจากผู้ใช้เครื่องมือสื่อสารในการแชร์ข้อมูล ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานเองก็เช่นกัน หากจะวางระบบให้พร้อมจริงๆนั้น ต้องมีการวางแผนและความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน อีกทั้งงบประมาณที่ต้องลงมาตรงนี้อย่างมหาศาล และเรื่องสุดท้ายคือเรื่องกฎหมาย เพราะการออกกฎหมายในแต่ละที่ก็มีความซับซ้อนต่างกันไป ก็ต้องดูกันต่อไปว่า ในอนาคตหากมีรถยนต์ที่สามารถใช้ระบบ V2X ได้อย่างชาญฉลาดบนท้องถนนมากขึ้น ภาครัฐในประเทศต่างๆก็อาจจะต้องปรับตัวตามกระแสโลกให้ทัน